วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การอ่านอย่างมีวิจารญาณ



ชื่อเรื่อง                การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การอ่านอย่างมีจิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
                          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วย   
                           กลุ่มร่วมมือแบบ  STAD
ผู้วิจัย                   นายปัณณ์พงศ์  ถุนาพรรณ์             
ตำแหน่ง               ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา          โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์                2555

บทคัดย่อ

                         การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดเป็น อ่านเป็น  โดยเฉพาะ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  สภาพการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ของนักเรียนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาอยู่มาก  ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ  (1)  หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  ตามเกณฑ์  80/80  (2)  หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  (3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/2  โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2555  จำนวน  40  คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี  4  ชนิด  คือ  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.31  แบบฝึกทักษะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์  จำนวน  10  ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  1  ฉบับ  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  40  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.25  ถึง  0.83  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.84  และแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  20  ข้อ  ซึ่งผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
                         ผลการวิจัยปรากฏว่า  แผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.45/82.05  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้  และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  0.7320  แสดงว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  คิดเป็นร้อยละ  73.20  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  อยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.24
                         สรุปได้ว่า  แผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ด้านการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ  STAD  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างดี  เหมาะสมที่จะนำไปจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของผู้เรียนให้แพร่หลายต่อไป


2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากค่ะ เนื้อหาน่าสนใจ ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป เหมาะสมกับระดับชั้น

    ตอบลบ